Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิทยุชุมชนกับวิทยุท้องถิ่นไทย


คำแถลงการณ์กลุ่มวิทยุท้องถิ่นไทย ที่เป็นวิทยุประกอบอาชีพ สำหรับคนในชุมชนพื้นที่ ก็เป็นประเด็นอีกแนวทางหนึ่ง
ที่เราคณะวิทยุชุมชนคนนิบงต้องคิดหนัก
แม้นว่าเราเป็นวิทยุเพื่อการกุศลไม่ได้หวังกำไร ซึ่งรายการของเราที่ได้นำเสนอล่วนเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังไม่น้อย
แต่ในขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องหาไรได้เพื่อสถานีวิทยุอยู่ได้
เห็นด้วยที่ต้องแปรสภาพเป็นวิทยุท้องถิ่น หากไม่กำหนดคลื่นความถี่ เราอาจจะเป็นวิทยุสาธารณะ หรือหรือวิทยุอะไรก็ได้ ที่ไม่ต้อง
ถูกบังคับ และขาดอิสระในการดำเนินการ
ในขณะเดียวกันกลุ่มวทยุท้องถิ่นไทย ก็อีกแนวทางหนึ่งที่เราต้องคิดไว้ หากไม่มีโฆษณา ถึงแม้รายการของเรา เน้นธรรมะ ที่ต้องการนำเสนอ สิ่งดีของคนในชุมชน ดั่งมีคำแถลงของกลุ่มวิทยุท้องถิ่นที่ต้องการให้จดทะเบียนและกำลังดำเนินการไม่ใช่วิทชุมชน แต่เป็นวิทยุประกอบอาชีพ มีคำแถลงดังนี้

ปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า วิทยุกระจายเสียงทุกวันนี้ มีแทบจะทุกความถี่บนหน้าปัดวิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง หรือ พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ไม่เว้นแต่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล ซึ่งทั้งหมดถูก เรียกรวมกันว่า “วิทยุชุมชน” เป็นผลสืบเนื่องจากการประกาศเชิญชวนของกรมประชาสัมพันธ์เมื่อปี 2547 ทำให้ เกิดวิวัฒนาการ ด้านกิจการกระจายเสียง ถ้ามองในมุมบวก ถือเป็นการปฎิรูปสื่อโดยภาคประชาชนและเป็นการ กระจายความเป็นเจ้าของ สื่อที่ภาครัฐเคยถือครองทั้งหมด สู่เอกชนและภาคประชาชน เป็นผู้ประกอบการที่หลากหลาย แต่ในทางกลับกัน ก็ทำให้สร้างความสับสน และเมื่อเดือนมีนาคม 2551 พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ปี 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยแบ่งไว้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้ประกอบการบริการสาธารณะ ผู้ประกอบการบริการธุรกิจ และผู้ประกอบการชุมชน หลายฝ่ายคาดว่า พรบ.ฉบับนี้จะสามารถแก้ไข้ปัญหาทีเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทเฉพาะการ ได้ระบุให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อออกใบอนุญาติชั่วคราวให้วิทยุชุมชน และกิจการที่ไม่ใช้ความถี่สามารถประกอบกิจการได้ต่อไป สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย (วทท.)ไม่คัดค้าน แต่เห็นว่าการออกใบอนุญาตชั่วคราวเฉพาะวิทยุชุมชน(ที่ไม่มีโฆษณา) เพียงกลุ่มเดียว ไม่อาจจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้ จึงนำเสนอแนวทางไปยังคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงชุมชน ผ่านท่านประธานคณะอนุกรรมการ พ.อ. ดร.นธี สุกลรัตน์ เพื่อให้เห็นถึงปัญหาของวิทยุในปัจจุบันมีมากกว่าคำว่า วิทยุชุมชน
การกำหนดให้ขึ้นทะเบียน ผู้ที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุที่มีอยู่ ทั้งหมดในปัจจุบันจนกว่าจะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม(กสทช) ส่วนผู้ที่ประกอบกิจการ ธุรกิจสื่อท้องถิ่นก็จะต้องขี้นทะเบียนแสดงตัวตน การใช้คลื่นความถี่