Powered By Blogger

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทัจมาฮัลเมืองเก่าโบราณทันสมัยก้าวหน้าที่สุดในช่วิตที่พบเหห็น


ทัจมาฮัลเมืองเก่าโบราณทันสมัยก้าวหน้าที่สุดในช่วิตที่พบเหห็น
นิวเดลฮีเมืองของอินเดียผู้คนมากจริงๆ บ้านถนนหนทาง เต็มด้วยฝุ่นขยะ ท่ามอากาศหนาวจริงๆ ผุ้เพีนพานบนท้องถนนขยะเต็มไปหมด
ดูเมืองของเขามีผู้คนเต็มไปหมด มีนั่งมีนอน ขอทานบริเวณ ถนนเด็มไปหมด ขอทานมีทั่วทุกแห่ง พวกเขาเรียกตัวเองว่ามีหน้าที่ขออย่างเดียว

ตามถนนหนทางไม่สามารถมองเห็นถังขยะ มีแต่ขยะทิ้งเรียงไรทั่วตามถนนหนทาง ตามร้านค้า หน้าร้านมีแต่ขยะเต็มไปหมด มีลูกหลานไม่ควรส่งมาเรียนที่นี้เพริดนิสัยมักง่าย จะไม่มีการอบรมบ่มนิสัยที่ดี เดี่ยวจะติดนิสัยเหล่านี้มาใช้ในบ้านเราระบบสาธารรูปโภคไม่มีการวางแผน การพัฒนาคนไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องมารยาท ไม่ได้สั่งสอน การศึกษาของเขาไม่รู้เหมือนกันเขาเน้นแต่อ่านออกเขียนได้เหมืองพี่ไทยหรือเปล่า นิสัยประชากรของเขาเห็นแต่คนจน คนรวยก็มีแต่ก็ไม่สนใจคนจนต่างคนต่างอยู่
ดีหน่อยคนของเขาไม่ค่อยเห็นคนมีพุ่งเท่าไหร เพราะพวกเขารับประทานอาหารกินแต่ผัก เอาผักมาแก่งแทนเนื้ออร่อยดี เรามุสลิมสบายใจหากไม่มีอาหารมุสลิมเราร่วมทานกับเขาได้เพราะแน่นอนเขาไม่กินเนื้อสัตว์ หากเดินในเมืองจะพบผู้ชาย 60-70 คนจะเจอคนมีพุ่ง 1คน ไม่เหมือนบ้านเราไปทางไหนจะเห็นแต่คนมีพุ่งเพราะกินเนื้อสัตว์เป็นกิจวัตน์ประจำวัน
ที่เมืองนิวเดลฮีนี้ จะมีมัสยิดยาแมะ ที่สร้างมา 300-500 ปี ตั้งตระหง่าบนเนินเขา มีความสวยงามแสดงถึงความรุ่งโรจน์ของศาสนาอิสลามที่มามีอิทธิพลในอินเดีย รอบๆมัสยิด จะมีชุมชนมุสลิม และฮินดู ซิกซ์ อยู่รวมกัน แต่มุสลิมถ้าจะกินเนื้อวัวต้องลบๆซ่อนเวลาเชือกเพราะผิดกฎหมาย
ชาวอินเดียจะมีศาสนามากที่ใหญ่หน่อยฮินดู ซิกซ์ อิสลาม ส่วนศาสนาพุทธไม่เห็นมี พระก็ไม่เจอทั้งๆที่ศาสนาพุทธเกิดในอินเดีย กลับตรงข้านมีคนไทยไปสร้างวัดในอินเดียตามที่เป็นข่าว
ทัขมาฮัล อาคารทรงมัสยิดที่ฝังศพของเจ้าครองแผนดินนับถือศาสนาอิสลามเป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าที่งที่สุดเท่าที่สัมผัสมา ความยิ่งใหญ่ของศิลปะบนฝาผนัง ระบบการชลประทานที่ดี และความสวยงามสวนดอกไม้ มีสระ น้ำพุ ระบชลประทานที่สอดคล้องกับสภาวะวัฒนธรรมศาสนาอิสลามที่เหมาะเจาะ ตวามพิศวงในการก่อสร้างน่าที่งและประทับใจ แสดงถึงความก้าวหน้าของมุสลิมด้านสถาปัตยกรรมที่จะมาเปรียบเทียบไม่มีอีกแล้วในโลกนี้

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554




ประชาคมจีนกับการทำธุระกิจ

ความรู้สึกกับความจริงมันส่วนทางกัน
มาประเทศจีนเมืองกวางโจว์ สัญลักษณ์แพะห้าตัวมาตั้งถิ่นฐานครั้งแรก ทำให่เกิดการคาดคิดของผมเองว่าจีนเป็นประเทศคอม(คอมมิวนิสต์) มีการทำทารุณกรรมคู่ต่อสู่ลัทธืทุนนิยม มาเมืองกวางโจวเป็นไปได้ยังไร ผู้คนทะลีงใจกลางเมืองมีมัสยิด และมีสุสามนอาบีวากัส ซอฮาบัตสมัยทันกับนบีได้มาเผยแพร่ดะอีนำสินค้ามาค้าขายถึงที่นี้ได้อย่างไร ว เลยเป็นสัญลักษณ์ของเมืองไปเลย
ที่นี้มีตำนานกล่าวว่ามีคนเดินทางมาเปิดเมืองมีแพะห้าตัวเราจะเป็นมุสลืมเพราะมุสลิมมักจะพาแพะเวลาเดินทางเพื่อเป็นอาหาร ที่จริงพามาด้วยคงไม่ใช่แค่ห้าตัวคงจะพามาเป็นฝุง แต่เมื่อมาถึงกวางโจวการเดินทางเสบียงหมดเหลือแพะแค่ห้าตัวคงจะหยุดที่นี้เพราะไปใหนไม่ได้อีกแล้วต้องหาทุ่งหญ้าเลี้ยงแพะให้ขยายเผ่าพันธุ์ก่อน
ประวัติศาสตร์ของกว่างโจวมีมายาวนาน ก่อนราชวงศ์ฉิน มีชื่อเรียกว่า ฟานยวี๋ เมื่อถึงปี พ.ศ. 769 (ค.ศ. 226) จึงเริ่มเรียกว่า กว่างโจว ที่นี่มีแม่น้ำจูเจียง ไหลผ่านกลางเมือง จึงมีการจราจรทางน้ำที่สะดวกยิ่ง ตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ฮั่น เป็นต้นมา มีเรือจากกว่างโจว เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ จนถึงราชวงศ์ถัง กว่างโจวได้กลายเป็น เมืองท่าที่มีชื่อเสียงของโลก มีการค้ากับต่างประเทศอย่างมั่งคั่งเป็นพิเศษ ผลิตภัณฑ์จากทางภาคใต้ของ ประเทศจีน เช่น ผ้าไหม ใบชา เป็นต้น ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกจากที่นี่ เรือสินค้าของต่างชาติก็มาที่นี่เป็น จำนวนมากเช่นกัน


มากวางโจวเห็นประวัติศาสตร์คงจะยาวนานมานานนับปีมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ภายในตัวเมืองมีวัดชื่อ กวงเซี่ยวซื่อ เป็นโบราณสถาน ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยราชวงศ์ ฮั่น เคยเป็นที่ประทับของ ฮ่องเต้ หนานเยว่ แห่งยุคฮั่นตะวันตก จนมา ถึงยุคฮั่นตะวันออก จึงได้กลายเป็นวัด ยังมีวัดอีกแห่งหนึ่งชื่อ ลิ่วหรงซื่อ ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1080 (ค.ศ. 537) เดิมมิใช่ชื่อนี้ จนถึงสมัยราชวงศ์ ซ่ง (ราชวงศ์ซ้อง) นักวรรณคดีผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อ ซู ซื่อ ได้มาเที่ยวที่นี่ เห็นว่าภายในวัดมีต้น หรง อยู่หกต้น จึงหยิบ พู่กันขึ้นมาเขียนตัวอักษร 2 ตัว ว่า ลิ่ว หรง (ลิ่ว = หก ; หรง = ชื่อต้นไม้) จนถึงราชวงศ์หมิงประชาชนจึงเรียก วัดนี้ว่า ลิ่ว หรง ซื่อ
การเดินทางไม่คาดคิดด้วยตั๋วราคาไม่กี่บาทกับแอร์เอเซียมาได้ด้วยความตั้งใจมาดูที่ประเทศนี้มีความเหมือนและความแตกต่างเพี่ยงใดทั้งสถาพความเป็นอยู่เผ่าพันธ์ถิ่นฐานที่เราเห็นแต่เจ็กตาตี้แถบบ้าน เมื่อครั้งแต่ก่อนมีจีนมาตั้งถิ่นฐานในชานเขาบ้านกาสัง มีกำปงจีนอยู่ชื่อว่า จอหอง


มากวางโจว์แต่กต่างกันกับการไปที่คุทมิงที่เป็นการเดินทางครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่เดินทางมากับคณะครูมณฑลยูนานที่คุนมิง ไปที่เมืองนี้ไม่คาดคิดว่ามีมุสลิมอยู่แถบชานเมือง
มาเมืองกวางโจวเป็นครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองที่มาประเทศที่ว่าปกครองด้วยลัทธิสังคมนิยม ชาวมุสลิมไม่มีในเมืองนี้ ชาวมุสลิมส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้อพยพมาจากทางตอนเหนือ ซึ่งจะอพยพมาทำธุรกิจส่วนใหญ่
เข้าชมมหกรรมในครั้งนี้ มีคนมาจากทุกส่วนของโลก จีนกลายเป็นแหล่งผลิตสินค้า และสินค้าของเขาได้ครอบครองตลาดทั่วโลกเพราะราคาสินค้าราคาถูกเหมาะสำหรับประชากรโลกที่สาม จะเห็นว่าราคาสิ้นค้าที่มาแสดงเป็นงานมหกรรมแสดงสินค้าจากโรงงานเขาทำเป็นฤดู ปีละ สองสามคั้ง สินค้าราคาจากโรงงาน มาที่นี้มีทุกอย่างที่ต้องการ หากจะซื้อเขาไม่ขายเป็นชิ้น เขาจะขายเป็นหนึ่งตู้คอนแตนเนอร์ ในงานจะมีร้านอาหารฮาลาลมีการจัดเตรียมสถานที่รับประทานอาหารสำหรับมุสลิมและเอื้ออำนวยความสะดวกสถานที่ละหมาด มีชาวนักธุระกิจอาหรับชาวแอฟรีกามาเป็นจำนวนมาก

ฉะนั้นเราจะเห็นแถบบ้านเราจะมีสิ้นค้าจากจีนเป็นจำนวนมากเขามารับมาดูของในงานนี้ จนทำให้สินค้าจีนตีตลาดหมดแม้แต่เสื่อผ้า หรือผลิตภัณฑ์อีเลคโทรนิค
สัญชาตญานคนจีนเป็นนักขาย ไปที่ไหนอยู่ที่คิดแต่จะขายเพื่อทำธุรกิจการค้าเป็นผั้ผลิต ไม่เหมือนคนไทยทั่วไปหรือคนไทยเชื้อสายมลายูมีนิสัยคล้ายๆกันชอบแต่ซื้อไม่ชอบขายอาถใจจริงๆ คิดแต่ทำงานกินเงินเดือนรับราชการ
ชาวมลายูเองถ้าเขารับแนวซุนนะห์ของท่านนบีจริงๆแล้ว ท่านนบีอายุตั้ง 6 ปีทำงานเลี้ยงชีพเอง อายุ 12 ปี เริ่งทำธุรกิจไปต่างประเทศแล้ว ไม่ใช่อ้างแต่ซุนนะห์แต่ละหมาด ถือศิลอด นบีท่านทำธุรกิจอายุ 2
5 สามารถจ่ายค่าสินสอดแต่งงานกับคอดีญะห์เงินหามาได้ด้วย
ล้ำแข้งตนเอง ไม่ใช่แบเงินขอพ่อแม่กิน
มาที่เมืองเชินเฉินเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าราคาถูกประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถือไอโฟนไอเพดราคาถูกเขาจะมาที่นี้ เขาจะขายจำนวนมาก เป็นสินค้าจากโรงงาน
เราเองน่าจะคิดประดิษฐ์อะไรให้เป็นกิจลักษณะเป็นของเราบ้าง สิ่งต่างๆที่เราใช้อยู่ทุกวันน่าจะทำเองบ้าง สันดานคนมลายูชอบซื้อไม่ชอบคิดประดิษฐิ่สร้างสิ่งใหม่ๆแม้แต่พืชผักสวนครัวแทนที่จะผลิตปลูกกลับไปซื้อทั้งสิ้นมันเป็นความสุขที่ได้ซื้อ
ไม่รู้จะทำอย่างไรจะเปลี่ยนแปลงคนของไทยหรือคนเชื้อสายมลายู ต่างประเทศยอมรับทรัพยากรความสวยงามของประเทศไทยแต่มีปัญหาเรื่องคนอย่างเดียวมีแต่ความขึ้เกียจ ข้าราชการมีคอรัปชัน

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ชาวยะลารับรายอเต็มที่แต่พอเพี่ยง

ยะลา 1 กย.2011 เทศกาลถือศิลอดของชาวมุสลิมทั่วโลกในเดือนรอมาฏอน ที่ผ่านมาเต็มด้วยความศรัทธามั่น ซึ่งชาวมุสลิมทั่วโลกได้ปฏิบัติบทบัญญัติอิสลามนี้ด้วยความน้อบน้อมเป็นบ่าวที่ภักดีต่อพระเจ้าผู้ทรงสร้างท้องฟ้าและแผ่นดิน ชาวยะลานับถือศาสนาอิสลาม 70-80% ได้จัดพิธีละหมาดที่มัสยิดและที่สนามกลางแจ้ง ถึงจะไม่เอิกเกริดเหมือนเทศกาลสงกราค์หรือปีใหม่ที่ทางการจัด ได้ทุ่มงบประมาณจุดดอกไม้ไฟให้ประชาชนได้ดูเล่น บ่งบอกถึงความไม่ยุติธรรมในการเอาใจใส่ของหน่วยภาครัฐที่ไม่ให้ความสำคัญต่อเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นดิน ความแตกต่างเห็นกันลิลลับจะเห็นว่าในเทศการของตรุษจีนจะมีการติดตั้งเค่รื่องดอกไม้ไฟตามเสาไฟฟ้าทุกต้นในเมืองเขตเทศบาลยะลา แต่พอถึงฤดูกาลของมุสลิมไม่มีให้เห็นความตั้งใจที่จะประดับประดาความยิ่งใหญ่ของงานวันสำคัญของคนในพื้นที่ทั้งๆที่รายได้ภาษีส่วนใหญ่มาจากรายได้เก็บภาษีของประชากรในพื้นที่ ถึงแม้ว่าชาวมุสลิมไม่มีร้านค้าบริษัทที่ใหญ่โตจ่ายภาษีให้เทศบาลแต่หารู้ไม่ว่าการค้าการขายที่คนจีนทำในเมืองยะลาที่มีร้านค้าในเขตเทศบาลใครเป็นลูกค้า ก็ไม่พ้นคนมลายูนี้แหละ ความพยายามที่แขนขาของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องการให้เมืองยะลาเป็นเมืองของคนจีน เราไม่ว่ากระไรหรอก แต่อย่าให้ความเจ็บปวดมาซำเติมจิตใจของชาวมลายูก็แล้วกัน แล้วกิจการการค้าคนจีนที่ท่านกดขี่แรงงานคนในพื้นที่ สร้างความรำรวยเพี่ยงของคนไม่กี่คน ท่านพอจะบอกได้ไม่สิทธิ์ของชุมชนในการแสดงถึงอัตลักษณ์ศาสนาวัฒนธรรมอยู่หนใด ทำไปเถอะคนเพื่อแสวงหาความร่ำรวย คดกินไปเถอะ คนที่มีอิทธฤทธฺอาวุธอยู่ในมือ สร้างให้สะใจ สักวันหนึ่งพระเจ้าจะตอบแทนกรรมที่ท่านก่อ ไม่ชาตืนี้ก็ชาติหน้า ไม่รุ่นนี่ก็รุ่นลูกหลาน ดูให้สะใจญี่ปุนผู้ก่อเข่นกดขี่ชาวมุสลิมในอดีตแต่วันนี้ตนเองก็เป็นที่ประจักษ์สินามิมาทำลายด้วยพลังอำนาจของผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครเสมอเหมือน
ชาวตลาดเก่าต้อนรับรายอแบบพอเพี่ยง

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ก้าวไปเพื่อความยั่งยืน


วิทยุชุมชนคนนิบงก้าวต่อไป
13 ส.ค.2554
สื่อวิทยุชุมชนคนนิบง เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิมยะลา ได้ดำเนินการสร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อชุมชน เน้นการจัดรายการด้านคุณธรรม และมีการขับเคลื่อนเดินหน้าต่อไสหรับอนาคต
นายมุอำมัด บิลหะยีอาบูบากา กล่าวว่า "รายได้ไม่มี เราทำเพื่อใจรัก การขยายเวลาออกอากาศก็ไม่มี วันนี้ทำเพี่ยงแค่ 8 ชั่วโมง นับว่าเต็มที่แล้ว ไม่มีเงินหนุนจากองคฺกรใดๆทั้งสิ้น ยืนบนล้ำแขงตนเอง "
"การขยายกำลังส่งเราไม่ทำอยู่แล้ว แต่ก็เราก็มีนโยบายจะเชื่อมต่อกับวิทยุชุมชนอื่นๆเพื่อนำเสนอรายการ ให้กว้างครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยะลา เรากำลังติดต่อวิทยุกำปงราดิโอที่ตาเนาะปูเต็บันนังสตา เพื่อร่วมเสนอรายการเป็นเครือข่าย"นายมูฮำมัดกล่าว
เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิม จังหวัดยะลา มีอาจารย์มันโซร์ ซอแลห์เป็นประธาน สถาบันปะปกเกล้าเคยให้การสนับสนุนจัดรายการการเมืองภาคประชาชน สำหรับในปีนี้ไม่มีงบประมาณโครงการเข้าเลย งบประพมาณค่าใช่จ่ายไม่มีสปอนเซอร์ ขอเพี่ยงค่าสนับสนุนรายการ รายการส่วนใหญ่บรรยายธรรม บังเทิงมีแคj 10%

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ว่า แนวทางจัดตั้ง ศอ.บต. ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์การพึ่งตนเอง


น.พ.แวมาฮาดี วิจารณ์ว่า แนวทางจัดตั้ง ศอ.บต. ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์การพึ่งตนเอง
“เราไม่อาจะเห็นด้วยกับทบวง และไม่เห็นด้วยกับปชป. เรื่องศอ.บต. เพราะเป็นตัวแทนของราชการส่วนกลาง”
6 พรรคการเมืองประชันนโยบายแก้ปัญหาภาคใต้ เห็นต่างรูปแบบเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม/กระจายอำนาจ หมอแว เสนอ เอาทหารกลับกรมกอง แล้วให้ชาวบ้านดูแลกันเอง ประหยัดงบประมาณ หลังที่ผ่านมาพิสูจน์แล้ว ทหารอยู่ในพื้นที่ไม่ช่วยให้ปลอดภัยขึ้น
วันที่ 15 มิ.ย. 2554 ที่ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Siam Intelligence Unit ร่วมกับ มูลนิธิสันติชน และ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deep South Watch ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “รัฐบาลใหม่กับแนวทางแก้ปัญหาไฟใต้” โดยตัวแทนจาก 6 พรรคการเมือง คือ นายถาวร เสนเนียม จากประชาธิปัตย์ น.พ.แวมาฮาดี แวดาโอะ จากพรรคแทนคุณแผ่นดิน นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ พรรคมาตุภูมิ พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ พรรคเพื่อไทย และนายมูฮำมัดซูลอัน ลามะทา จากพรรคชาติไทยพัฒนา

ทั้งนี้ เขาเสนอในช่วงท้ายของการเสวนาว่า การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อาจจะไม่ได้รับประกันความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ แต่ถ้ามองมุมกลับกัน การมีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมีทหารอยู่เต็มพื้นที่ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ปลอดภัยและล้มเหลวเช่นกัน รวมถึงใช้งบประมาณเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาท เขาเสนอให้ชาวบ้านดูแลกันเอง โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบหลัก พร้อมกับมีอาสาสมัครประมาณ 30 คนต่อหนึ่งหมู่บ้าน โดยคาดว่าโมเดลนี้ จะใช้งบประมาณเพียง 6,000 ล้านบาท เท่านั้น
เขากล่าวย้ำว่า ถ้าหากแนวทางที่เขาเสนอไม่ประสบความสำเร็จ ก็เพียงแต่เสมอตัวเมื่อเทียบกับความล้มเหลวของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและมีทหารอยู่ในพื้นที่มายาวนานกว่า 6-7 ปี
น.พ. แวมาฮาดี แวดาโอ๊ะ หรือหมอแว จากพรรคแทนคุณแผ่นดิน กล่าวว่าสิ่งที่น่าหนักใจคือเริ่มมีการพูดคุยกับพรรคเล็กเพื่อให้เข้าร่วมรัฐบาล แต่หนักใจว่าจะร่วมรัฐบาลกับใครดี เพราะทั้งสองพรรคต่างล้มเหวในการแก้ปัญหาภาคใต้ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย หมดสิทธิที่จะแก้ปัญหาภาคใต้ เพราะสีแดงของพรรคเพื่อไทย คือคราบเลือดจากตากใบ
น.พ.แวมาฮาดี กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้ของขวัญกับคนสามจังหวัดโดยยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยทหารที่เหลืออยู่ในพื้นที่ต้องกลับเข้าไปอยู่ในกรมกอง และเสนอยกนโยบายเลิกนิคมอุตสาหกรรมแห่งความมั่นคง ที่อ้างความมั่นคงเพื่อผลประโยชน์ ทั้งที่เป็นผลประโยชน์ของทหาร ตำรวจ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของคนในพื้นที่
นอกจากนี้ยังเสนอหลักพึ่งตนเอง โดยมุสลิมมีหลักคำสอนที่ว่า พระเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ใดของชุมชนใดเว้นแต่เขาต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง ดังนั้น ประชาชนต้องมีอำนาจในการจัดการพื้นที่ ไม่มีเหตุผลใดที่จะคงไว้ซึ่งการปกครองส่วนภูมิภาค
พรรคความหวังใหม่: กระจายอำนาจ เลือกผู้ว่าฯ มหานครปัตตานี
ศ.พล.โท. ดร. สมชาย วิรุฬผล จากพรรคความหวังใหม่ กล่าวว่าควรเริ่มจากดำเนินแนวทางแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีจะทำอย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถสร้างความสงบสันติสุขให้เกิดขึ้นได้ ปัญหาอื่นๆ ก็แก้ไม่ได้
ตัวแทนพรรคความหวังใหม่กล่าวถึงการการกระจายอำนาจว่า จริงๆ แล้วรูปแบบของการปกครองระบบประชาธิปไตยนั้น ประกอบด้วยส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก ส่วนอื่นๆ เป็นแค่รูปแบการถ่ายโอนอำนาจมาเท่านั้น การกระจายอำนาจจริงๆ คือส่วนกลางต้องลดบทบาทของตัวเองให้น้อยที่สุด เหลือแค่บทบาทหลัก คือ ทหาร คลัง และต่างประเทศ
"มีการสำรวจและยืนยันได้ โดยมูลนิธิเอเชีย พบว่าเจ็ดสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ของประชาชนไทยอยากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะไม่ว่าจะเป็นรูปแบบกระทรวง ทบวง อะไรก็ตาม ก็เป็นการทำงานจากส่วนกลางทั้งนั้น เพราฉะนั้นไม่ใช่แค่ตั้งทบวงแล้วลอยไว้ การกระจายอำนาจต้องให้ท้องถิ่นนั้นมีอำนาจในการจัดการปัญหาของตนเอง ซึ่งไม่ใช่แค่ภาคใต้ แต่รวมถึงภาคอื่นๆ เช่น จ. เชียงใหม่ ประชาชนก็อยากได้มหานครเชียงใหม่ การที่พล.เอกชวลิต ยงใจยุทธ เคยเสนอเรื่องมหานครปัตตานีนั้น เป็นข้อเสนอที่สะท้อนมาจากความต้องการของประชาชน คือการกระจายอำนาจ"
“การสร้างมหานครปัตตานี ไม่ใช่นครรัฐ เป็นการสร้างรูปแบบการปกครองคล้ายกรุงเทพฯ ซึ่งภาคอื่นๆ ก็นำไปใช้ได้ คนกรุงเทพฯ เลือกผู้ว่าฯ ได้ ทำไมคนที่อื่นเลือกไม่ได้ ถ้าไม่ได้ ก็แปลว่าสิทธิไม่เท่าเทียมกัน”
อย่างไรก็ตามเขากล่าวด้วยว่าปัญหาภาคใต้ไม่ใช่แค่เรื่องกระจายอำนาจแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีปัญหาสะสม ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา ปัญหายาเสพติด และเสพติดงบประมาณ ถ้ายังดำเนินการกันแบบเดิมต่อไปเรื่อยๆ ความรุนแรงจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะดำเนินนโยบายผิดพลาดมาโดยตลอด และสิงที่้ต้องทำก่อนการกระจายอำนาจก็คือการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่
“ต้องยุติความขัดแย้งให้ได้ และสร้างความสงบสันติให้ได้ และต้องมีการเจรจาถ้าไม่เจรจามันก็ไม่มีทางแก้ปัญหา เลิกดถูถูกประชาชนเสียที เรามีประชาธิปไตยมาแปดสิบกว่าปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ส่วนกลางมากำกับดูแล เวลานี้ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มีแค่สองประเทศคือไทยกับฝรั่งเศสเท่านั้นที่ยังแบ่งการปกครองเป็นส่วนกลางกับภูมิภาค แต่ฝรั่งเศสยกเลิกอำนาจส่วนกลางในการกำกับดูแลพื้นที่แล้ว”
พรรคเพื่อไทย: เสนอเขตปกครองพิเศษเหมือนกรุงเทพฯ
พล.ต.ท. ฉลอง สมใจ ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า มีคณะทำงานที่มีทหารตำรวจและประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้ ติดตามสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้อยู่ตลอด แนวทางแก้ไขคือ การน้อมนำเอาพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินงาน คือ เข้าถึง เขาใจ พัฒนา และจากการทำงานในพื้นที่พบว่าสิ่งที่ประชาชนในสามจังหวัดต้องการ คือ หนึ่ง ต้องการอยู่ภายนใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ไม่แบ่งแยกดินแดน แก้ปัญหาโดยสันติวิธี
สอง ขอสิทธิดูแลตัวเองภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
สาม รักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ภาษา วัฒนธรรม
พรรคเพื่อไทยจึงกำหนดนโยบายการกระจายอำนาจสี่ท้องถิ่น ในลักษณะคล้ายกรุงเทพฯ เป็นเขตปกครองพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วแต่ว่าประชาชนในสามจังหวัดต้องการอย่างไร เพราะประชาชนในนะลาก็ไม่อยากมารวมเป็นมหานครปัตตานี อยากจะแยกไปเป็นนครยะลา ประชาชนใน จ. นราธิวาส ก็อาจจะต้องการให้มีการปกครองนครนราธิวาส อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยก็ได้เตรียมร่างกฎหมายไว้รองรับแล้ว
แต่แม้ว่าจะมีการนำเสนอแนวทางการดูแลสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่ถ้ายังมีสถานการณ์เกิดขึ้นรายวัน ซึ่งขณะนี้เจ็บและตายไปแล้วกว่าหมื่นคน โดยยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ จะกระจายอำนาจอย่างไรก็ทำไม่ได้ เพราะยังยิงกันอยู่รบกันอยู่
ส่วนการแก้ปัญหารายวัน พรรคเพื่อไทยมีวิธีและได้ทดลองทำมาแล้ว คือ มีพื้นที่สันติสุขนำร่องให้เกิดสันติสุข คือ อ. กะพ้อ อ. รามัญ และ อ. รือเสาะ ซึ่งขณะนี้ครบ 1 เดือนแล้ว ไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ ทำให้เห็นว่าเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ซึ่งการจัดสัมมนาองค์กรสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ทางพรรคคิดจะใช้โมเดลนี้ในการแก้ปัญหา ทั้งนี้การพูดคุยกับกลุ่มองค์กรร้อยกว่าองค์กรในพื้นที่สามจังหวัดนั้น ต้องพูดคุยกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่หน้าเลือกตั้งทีก็ลงพื้นที่คุยทีหนึ่ง
พรรคแทนคุณแผ่นดิน: เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เลิกนโยบายนิคมอุตสาหกรรม

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เด็กปอเนาะถูกรีไทน์โทษใคร....หาว่าปอเนาะอย่างโนนอย่างนี้


เผยเด็กปอเนาะถูกรีไทน์สามพันคนโทษใคร.....โทษคนปกครอง ใครบ้าอำนาจ ไร้ศักยภาพ ไร้ทิศทางการจัดการศึกษาของชนเชื้อชาติมลายูที่เป็นเผ่าพันธ์ดั่เดิมปอเนาะในปัจจุบันไม่ได้รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมของมลายู เด็กมลายูที่ได้รับการศึกษาอยู่ไม่ได้มาจากระบบการศึกษาบนสัจธรรมของความเป็นจริง การรับระบบการศึกษาไทย ที่คนมลายูต้องเรียนภาษาไทยแน่นอนจะสู้กับเจ้าของภ...าษาไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นการจัดการศึกษาต้องให้สิทธิ์ชุมชนท้องถิ่นจัดเอง เหมือนประเทศมาเลเซีย มีชนเชื่อชาติเชื้อสายจีน ฮินดู ต่างมีโรงเรียนจีน โรงเรียนภาษาของตน เด็กทุกคนสมองเท่าเทียมกัน เพี่ยงแตขาดโอกาสใช้ภาษาตนเองถนัด แม้แต่ในเขตปกครองตนเองมณฑลยูนาน จะมีภาษาจีนกลางแต่ก็บังคับเรียนภาษาไตลื้อซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย อย่าโทษที่ปลายเหตุ ต้องโทษที่ต้นเหตุใครทำ
สิทธิ๋ชุมชนอยู่ที่ไหน ไม่มีการยอมรับ ความยุติธรรมอยู่ที่ไหนกับชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย บรรดานักการเมืองที่เคยรับปากจะทำโน้นทำนี้ไหนที่รับปากไว้
การศึกษาที่ว่ามีปัญหานั้น ปัญหาของใคร สำหรับเราที่เป็นขนกบลุ่มเผ่าพันธ์ไม่ได้เป็นปัญหาสักน้อย ที่เนบรรดานักปกครองแขนขาของระบบราชการปกครองไม่ได้ เพราะตนเองพูดฟังคนในพื้นที่พูดไม่รู้เรื่อง แถมมาด่าว่าชาวพื้นเมืองล้าหลังไม่รู้ภาษาไทย แทนที่จะว่าตนเอลล้าหลังที่ไม่รู้ภาษามลาบูไม่ หาว่าคนอื่นผิดหมด ดีแต่ตน ระบบราชการที่มาทำงานไม่ไห้ความสำคัญภาษามลายูในพื้นที่ ปล้ำจะให้คนท้องถิ่นรูเภาษาร๔แต่ภาษาไทยภาษาเดียว รัฐไม่สนับสนุนการเรียนการสอนภาษามลายูว่าเป็นภาษาที่ไม่เจริญ ภาษาไทยเท่านั้นที่เห็นว่าเจริญ
ที่จริงภาษาที่เราเขียนอยู่นี้อยากบอกสักน้อยดั่งเดิมเป็นภาษาลาว เพราะพ่อขุนรามคำแหงเป็นคนลาว แต่มาเขียนที่สุโขทัย เลยอ้างว่าเป็นภาษาไทย
ไม่ได้ปฏิเสธห้ามเรียนรู้ภาษาไทย เพราะยิ่งรู้มากภาษายิ่งดี แต่อย่าทิ้งภาษาที่มากด้วยวิชาการภาษามลายูที่คนใช้วโลก สี่ร้อยล้านคน มีหนังสือมากมาย สำหรับอ่าน แต่คนมลายูบางคนบ้าอำนาจ ลืมภาษาขงอตนเองน่าเสียดายจริงๆ ไปทำตัวให้แคบ ทั้งๆที่ตนเองมีภาษาที่กว้างใหญ่ไฟศาล
เด็กปอเนาะที่ถูกรีไทน์มากก็จริงสำหรับในมหาวิทยาลัยในประเทศ แต่หากลองไปเซ็กดูเด็กปอเนาะที่เรียนต่างประเทศโดยเฉพาะมาเลย์ อินโด มีถ฿กรีไทน์แบบนี้บ้างหรือเปล่า

โทษแต่ปอเนาะ ว่าไม่เอาไหน แต่ระบบปกครองไม่มีศักยภาพ


เผยเด็กปอเนาะถูกรีไทน์สามพันคนโทษใคร.....โทษคนปกครองบ้าอำนาจ ไร้ศักยภาพ ไร้ทิศทางการจัดการศึกษาของชนเชื้อชาติมลายูที่เป็นเผ่าพันธ์ดั่เดิมปอเนาะในปัจจุบันไม่ได้รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมของมลายู เด็กมลายูที่ได้รับการศึกษาอยู่ไม่ได้มาจากระบบการศึกษาบนสัจธรรมของความเป็นจริง การรับระบบการศึกษาไทย ที่คนมลายูต้องเรียนภาษาไทยแน่นอนจะสู้กับเจ้าของภ...าษาไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นการจัดการศึกษาต้องให้สิทธิ์ชุมชนท้องถิ่นจัดเอง เหมือนประเทศมาเลเซีย มีชนเชื่อชาติเชื้อสายจีน ฮินดู ต่างมีโรงเรียนจีน โรงเรียนภาษาของตน เด็กทุกคนสมองเท่าเทียมกัน เพี่ยงแตขาดโอกาสใช้ภาษาตนเองถนัด แม้แต่ในเขตปกครองตนเองมณฑลยูนาน จะมีภาษาจีนกลางแต่ก็บังคับเรียนภาษาไตลื้อซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย อย่าโทษที่ปลายเหตุ ต้องโทษที่ต้นเหตุใครทำ
จะว่าตามหลักความเป็นจริงการคัดเลือกเข้าเรียนใครคัดเลือก ผ่านการคัดเลือกระบบพรรคพวก พวกกู พวกใคร เส้นสาย เส้นก๋วยเตียหรือเส้นขนมจีน เส้นหมีเส้นเล็ก มีสิทธิ์เข้าเรียนผ่านระบบของศอบต.หนือไม่ ใครมือยาวสาวได้สาวเอา ผลกระทบกลับมา หาว่าปอเนาะไม่ประสิทธฺภาพ จะหาโทษใครทุ่มปอเนาะนำร่องทำโครงการพัฒนาจิปาถะ แต่ไม่มีใครถึงดวงดาวลุ้นไม่ขึ้น
จะหาว่าเด็กชี้เกียจไม่พยายามก็ได้ แต่ใครทำเด็กเลยเรียนไม่มีเป้าหมาย การศึกษาการเรียนไม่รู้เรียนไปทำไม่ ไม่มีงานทำ เน้นให้เด็กเข้ามหาวิทยาลัย จบออกทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

มูลนิธิอาบูบักร์ผู้ให้การสนับสนุนนิบงราดิโอทุ่มเปิดโรงเรียน


มูลนฺธิอาบูบักร์ผู้สนับสนุนนิบงราดิโอทุ่มเปิดโรงเรียนบริหารธุรกิจแนวทางอิสลาม เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาของชาวมุสลิมในจังหวัดยะลา
นายมฮำมัด บิลหะยีอาบูบากา ประธานมูลนิธิกล่าว่าการจัดการศึกษาของชุมชนมุสลิมมีจำนวนมาก แต่โดยส่วนใหญ่เน้นวิชาสามัญและพยายามปันเด็กเข้าสู่มหาวอทยาลัย แต่ทั้งทีรู้เด็กเหล่านั้นมีความสามารถไม่เท่ากัน"
"เด็กจำนวนมากจบ ม.6 ไม่ได้เรียนต่อและทำอะไรไม่เป็น จบม.หกจำนวนมาก พ่อแม่ไม่ส่เสริม คบเพื่อนติดนำใบกระท่อม สร้งปัญหาให้สังคม "
"จะว่าไม่ทุนเรียนปัจจุบีนมีเงินกู้ เรียนระดับมหาลัย แต่เรียนไปแล้ว ปีแรกปีสอง ถูกรีไทน์"
สิ่งที่จะค้องสร้างเด็กใหม่ของเรา ดราจะต้องสร้างเด็กมีทักษะ ไม่ใช่เน้นแต่ทฤษฏีอย่างเดียว มีคนที่วางมากนักวิชาการที่จะต้องสอนบอกที่ละอย่างในกิจการการงานพื้นๆ ทำอะไรไม่เป็นเด็กคุณภาพต่ำ แม้นโรงเรียนจะผ่านการประกัคุณภาพ แต่ออกมาไม่ไม่รู้อะไร จบม.6 เต็มบ้านเต็มเมืองเต็มหมู่บ้าน เจอเพื่อนๆเหลวๆชักชวนมั่วสุ่มยาเสพติด ใบกระท่อมเต็มหมู่บ้าน
การจัดการศึกษาเน้นทักษะต้องฝึก ส่วนการศึกษาไทยเลี่ยนแบบฝรัง จะให้ความรู้ก็จริง แต่หารู้ไม่เด็กของเขาถูกฝึกให้ดูแลตนเองตั้งแต่ยังเด็ก ให้หางานทำเป็น ให้รู้จักชีวิต แต่ระบบการศึกษาอบรมของพ่อแมคนไทยเหมือนไข่ในหิน
การสร้างคนทำงาน กล้ารับใช้ อาสาทำงานด้วนความอดทน จำเป็นต้องฝึกต้องใช้เวลาในการฝึก ใช้เหมือนหลักสูตรระยะสั้นไม่เกิดผล และเปลี่ยนแปลงแนวความคิดใหม่โดยเฉพาะโรงเรียนบริหารธุรกิจอิสลามยะลาจะต้องสร้างคุณค่าของรัพยากรมนุษย์ให้อยู่บนครรลองของศานาอิสลาม ตามหลักอิสลามนั้นการตามแบบอย่างศาสดาจำเป็นต้องปลูกฝังให้กับเยาวชน ซึ่งศาสนาดในวัยเด็กต้องเป็นเด็กกำพร้าต้องช่วยเหลือตนเอง ต้องทำงาน ต้องเป็นผู้ดูแลฟุงแพะตัองแต่อายุ 7 ขวบ และทำงานการค้าต้องแต่อายุ 12 ขวบ ต้องไปประเทศซามเดินทางเป็นแรมเดือนกว่า
แบบอย่างศาสนา ศีดดีก อมานะห ตับลีฆ ฟาตอนะห์ เป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังตามหลักการศาสนาอิสลามเป็นคุณลักษณะของท่านศาสนดา นักศักษาโรงเรียนบริหารธุรกิจอิสลามต้องมีคุณลักษณะนี้เป็นสำคัญ