Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ว่า แนวทางจัดตั้ง ศอ.บต. ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์การพึ่งตนเอง


น.พ.แวมาฮาดี วิจารณ์ว่า แนวทางจัดตั้ง ศอ.บต. ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์การพึ่งตนเอง
“เราไม่อาจะเห็นด้วยกับทบวง และไม่เห็นด้วยกับปชป. เรื่องศอ.บต. เพราะเป็นตัวแทนของราชการส่วนกลาง”
6 พรรคการเมืองประชันนโยบายแก้ปัญหาภาคใต้ เห็นต่างรูปแบบเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม/กระจายอำนาจ หมอแว เสนอ เอาทหารกลับกรมกอง แล้วให้ชาวบ้านดูแลกันเอง ประหยัดงบประมาณ หลังที่ผ่านมาพิสูจน์แล้ว ทหารอยู่ในพื้นที่ไม่ช่วยให้ปลอดภัยขึ้น
วันที่ 15 มิ.ย. 2554 ที่ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Siam Intelligence Unit ร่วมกับ มูลนิธิสันติชน และ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deep South Watch ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “รัฐบาลใหม่กับแนวทางแก้ปัญหาไฟใต้” โดยตัวแทนจาก 6 พรรคการเมือง คือ นายถาวร เสนเนียม จากประชาธิปัตย์ น.พ.แวมาฮาดี แวดาโอะ จากพรรคแทนคุณแผ่นดิน นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ พรรคมาตุภูมิ พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ พรรคเพื่อไทย และนายมูฮำมัดซูลอัน ลามะทา จากพรรคชาติไทยพัฒนา

ทั้งนี้ เขาเสนอในช่วงท้ายของการเสวนาว่า การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อาจจะไม่ได้รับประกันความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ แต่ถ้ามองมุมกลับกัน การมีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมีทหารอยู่เต็มพื้นที่ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ปลอดภัยและล้มเหลวเช่นกัน รวมถึงใช้งบประมาณเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาท เขาเสนอให้ชาวบ้านดูแลกันเอง โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบหลัก พร้อมกับมีอาสาสมัครประมาณ 30 คนต่อหนึ่งหมู่บ้าน โดยคาดว่าโมเดลนี้ จะใช้งบประมาณเพียง 6,000 ล้านบาท เท่านั้น
เขากล่าวย้ำว่า ถ้าหากแนวทางที่เขาเสนอไม่ประสบความสำเร็จ ก็เพียงแต่เสมอตัวเมื่อเทียบกับความล้มเหลวของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและมีทหารอยู่ในพื้นที่มายาวนานกว่า 6-7 ปี
น.พ. แวมาฮาดี แวดาโอ๊ะ หรือหมอแว จากพรรคแทนคุณแผ่นดิน กล่าวว่าสิ่งที่น่าหนักใจคือเริ่มมีการพูดคุยกับพรรคเล็กเพื่อให้เข้าร่วมรัฐบาล แต่หนักใจว่าจะร่วมรัฐบาลกับใครดี เพราะทั้งสองพรรคต่างล้มเหวในการแก้ปัญหาภาคใต้ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย หมดสิทธิที่จะแก้ปัญหาภาคใต้ เพราะสีแดงของพรรคเพื่อไทย คือคราบเลือดจากตากใบ
น.พ.แวมาฮาดี กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้ของขวัญกับคนสามจังหวัดโดยยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยทหารที่เหลืออยู่ในพื้นที่ต้องกลับเข้าไปอยู่ในกรมกอง และเสนอยกนโยบายเลิกนิคมอุตสาหกรรมแห่งความมั่นคง ที่อ้างความมั่นคงเพื่อผลประโยชน์ ทั้งที่เป็นผลประโยชน์ของทหาร ตำรวจ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของคนในพื้นที่
นอกจากนี้ยังเสนอหลักพึ่งตนเอง โดยมุสลิมมีหลักคำสอนที่ว่า พระเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ใดของชุมชนใดเว้นแต่เขาต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง ดังนั้น ประชาชนต้องมีอำนาจในการจัดการพื้นที่ ไม่มีเหตุผลใดที่จะคงไว้ซึ่งการปกครองส่วนภูมิภาค
พรรคความหวังใหม่: กระจายอำนาจ เลือกผู้ว่าฯ มหานครปัตตานี
ศ.พล.โท. ดร. สมชาย วิรุฬผล จากพรรคความหวังใหม่ กล่าวว่าควรเริ่มจากดำเนินแนวทางแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีจะทำอย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถสร้างความสงบสันติสุขให้เกิดขึ้นได้ ปัญหาอื่นๆ ก็แก้ไม่ได้
ตัวแทนพรรคความหวังใหม่กล่าวถึงการการกระจายอำนาจว่า จริงๆ แล้วรูปแบบของการปกครองระบบประชาธิปไตยนั้น ประกอบด้วยส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก ส่วนอื่นๆ เป็นแค่รูปแบการถ่ายโอนอำนาจมาเท่านั้น การกระจายอำนาจจริงๆ คือส่วนกลางต้องลดบทบาทของตัวเองให้น้อยที่สุด เหลือแค่บทบาทหลัก คือ ทหาร คลัง และต่างประเทศ
"มีการสำรวจและยืนยันได้ โดยมูลนิธิเอเชีย พบว่าเจ็ดสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ของประชาชนไทยอยากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะไม่ว่าจะเป็นรูปแบบกระทรวง ทบวง อะไรก็ตาม ก็เป็นการทำงานจากส่วนกลางทั้งนั้น เพราฉะนั้นไม่ใช่แค่ตั้งทบวงแล้วลอยไว้ การกระจายอำนาจต้องให้ท้องถิ่นนั้นมีอำนาจในการจัดการปัญหาของตนเอง ซึ่งไม่ใช่แค่ภาคใต้ แต่รวมถึงภาคอื่นๆ เช่น จ. เชียงใหม่ ประชาชนก็อยากได้มหานครเชียงใหม่ การที่พล.เอกชวลิต ยงใจยุทธ เคยเสนอเรื่องมหานครปัตตานีนั้น เป็นข้อเสนอที่สะท้อนมาจากความต้องการของประชาชน คือการกระจายอำนาจ"
“การสร้างมหานครปัตตานี ไม่ใช่นครรัฐ เป็นการสร้างรูปแบบการปกครองคล้ายกรุงเทพฯ ซึ่งภาคอื่นๆ ก็นำไปใช้ได้ คนกรุงเทพฯ เลือกผู้ว่าฯ ได้ ทำไมคนที่อื่นเลือกไม่ได้ ถ้าไม่ได้ ก็แปลว่าสิทธิไม่เท่าเทียมกัน”
อย่างไรก็ตามเขากล่าวด้วยว่าปัญหาภาคใต้ไม่ใช่แค่เรื่องกระจายอำนาจแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีปัญหาสะสม ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา ปัญหายาเสพติด และเสพติดงบประมาณ ถ้ายังดำเนินการกันแบบเดิมต่อไปเรื่อยๆ ความรุนแรงจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะดำเนินนโยบายผิดพลาดมาโดยตลอด และสิงที่้ต้องทำก่อนการกระจายอำนาจก็คือการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่
“ต้องยุติความขัดแย้งให้ได้ และสร้างความสงบสันติให้ได้ และต้องมีการเจรจาถ้าไม่เจรจามันก็ไม่มีทางแก้ปัญหา เลิกดถูถูกประชาชนเสียที เรามีประชาธิปไตยมาแปดสิบกว่าปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ส่วนกลางมากำกับดูแล เวลานี้ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มีแค่สองประเทศคือไทยกับฝรั่งเศสเท่านั้นที่ยังแบ่งการปกครองเป็นส่วนกลางกับภูมิภาค แต่ฝรั่งเศสยกเลิกอำนาจส่วนกลางในการกำกับดูแลพื้นที่แล้ว”
พรรคเพื่อไทย: เสนอเขตปกครองพิเศษเหมือนกรุงเทพฯ
พล.ต.ท. ฉลอง สมใจ ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า มีคณะทำงานที่มีทหารตำรวจและประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้ ติดตามสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้อยู่ตลอด แนวทางแก้ไขคือ การน้อมนำเอาพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินงาน คือ เข้าถึง เขาใจ พัฒนา และจากการทำงานในพื้นที่พบว่าสิ่งที่ประชาชนในสามจังหวัดต้องการ คือ หนึ่ง ต้องการอยู่ภายนใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ไม่แบ่งแยกดินแดน แก้ปัญหาโดยสันติวิธี
สอง ขอสิทธิดูแลตัวเองภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
สาม รักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ภาษา วัฒนธรรม
พรรคเพื่อไทยจึงกำหนดนโยบายการกระจายอำนาจสี่ท้องถิ่น ในลักษณะคล้ายกรุงเทพฯ เป็นเขตปกครองพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วแต่ว่าประชาชนในสามจังหวัดต้องการอย่างไร เพราะประชาชนในนะลาก็ไม่อยากมารวมเป็นมหานครปัตตานี อยากจะแยกไปเป็นนครยะลา ประชาชนใน จ. นราธิวาส ก็อาจจะต้องการให้มีการปกครองนครนราธิวาส อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยก็ได้เตรียมร่างกฎหมายไว้รองรับแล้ว
แต่แม้ว่าจะมีการนำเสนอแนวทางการดูแลสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่ถ้ายังมีสถานการณ์เกิดขึ้นรายวัน ซึ่งขณะนี้เจ็บและตายไปแล้วกว่าหมื่นคน โดยยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ จะกระจายอำนาจอย่างไรก็ทำไม่ได้ เพราะยังยิงกันอยู่รบกันอยู่
ส่วนการแก้ปัญหารายวัน พรรคเพื่อไทยมีวิธีและได้ทดลองทำมาแล้ว คือ มีพื้นที่สันติสุขนำร่องให้เกิดสันติสุข คือ อ. กะพ้อ อ. รามัญ และ อ. รือเสาะ ซึ่งขณะนี้ครบ 1 เดือนแล้ว ไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ ทำให้เห็นว่าเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ซึ่งการจัดสัมมนาองค์กรสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ทางพรรคคิดจะใช้โมเดลนี้ในการแก้ปัญหา ทั้งนี้การพูดคุยกับกลุ่มองค์กรร้อยกว่าองค์กรในพื้นที่สามจังหวัดนั้น ต้องพูดคุยกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่หน้าเลือกตั้งทีก็ลงพื้นที่คุยทีหนึ่ง
พรรคแทนคุณแผ่นดิน: เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เลิกนโยบายนิคมอุตสาหกรรม