Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ผลโอเนทวิบาทกรรมของสุงคมไทย ต่อการนำการศึกษามลายูมุสลิม


โอเนท…โอ....โอโหเนท
อาบีนูร์

การศึกษาไทยในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางสังคมโลกและทางตัน เพราะผลการเรียนของนักเรียนนักเรียน ม.6 ตกผลการสอบของนักเรียนระดับประเทศ สภาพการศึกษาอาการสาหัส ทางหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบอยู่ก็พยายามจัดระบบการจัดการพัฒนาต่างๆทั้งครูก็แล้ว พัฒนาเด็กเลี้ยงนมฟรีแล้ว อาคารก็ทาสีใหม่แล้วเป็นโรงเรียนสีขาวทั่วหน้า หลักสูตรก็พัฒนาแล้ว แต่ผลโอเนทกลับตกต่ำ ส่อถึงอาการการศึกษาโคม่าไร้ทิศทาง กำหนดเป้าผิด หวังแต่ให้เด็กได้คะแนนสูง แต่เป้าที่กำหนดนั้นผิด ผลของจัดการศึกษาด้วยการปฏิรูปที่ผ่านมาการดำเนินการทั้งหมดนั้นย่อมไม่ส่งผลตามที่ต้องการ นี่คือสภาพของคุณภาพที่เอาคะแนนโอเนทชี้วัดนั้นคือการศึกษาของไทยกำลังประสบกับการเผชิญหน้ากับปัญหามากมาย เสมือนจนตรอก
การศึกษาไทยหากเทียบกับคน ก็ถือได้ว่าอยู่ในอาการป่วยหนักใกล้ตาย หลักสูตรที่เหล่านักวิชาการพยายามจะสร้างคนไทยในอนาคต เยียดเข้ากำหนดให้เด็กไทยต้องเรียนมากมายโดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสาระวิชา 8-9 กลุ่มสาระวิชาทั้งๆที่บางประเทศมีไม่ถึง 5 สาระ แต่สร้างคนตุณภาพได้ แต่เด็กไทยนักวิชาการพยายามยัดสาระต่างๆให้เด็กรู้หมด ผลคือเด็กนักเรียนต้องรับภาระแบกหนังสือเอวคดหลังโคงเพื่อสนองความต้องการของนักวิชาการว่าจะสร้างคนไทยรุ่นใหม่เป็นคนสติปัญญารอบรู้ แต่กลับตละปัดกลายเป็นคนมีสติปัญญาต่ำ ทั้งๆ ที่ตอนเกิดมาฉลาดดี แต่เมื่อเข้าไปผ่านระบบการศึกษา กลับเป็นคนโง่
ในวงารศึกษาของชาติ และมักจะมองว่าในสามจังหวัดชายแดนแดนเด็กอ่านหนังสือไทยไม่ได้ ระดับ ม.๑ เด็กในโรงเรียนปอเนาะหรือเอกชนศาสนา อ่านได้ ๕-๑๐ ตน บ่งบอกระบบการศึกษาและโรงเรียนรัฐเองก็ไม่ต่างเช่นกัน หากมองโรงเรียนที่อยู่เมืองก็อ่านหนังสือไม่ได้เยอะแยะไม่ใช่เฉพาะสามจังหวัด
ความคิดเห็นของผู้ปฎิบัติเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยราชการมีมากมายทุ่มเท่งบประมาณอ้างโครงการอ่านภาษาไทยผลาญสู่มือกลุ่มพรรคคนเหล่านี้ แต่กลับโยนความผิดให้โรงเรียนปอเนาะว่าจัดการศึกษาไม่ดี และมักจะโทษโต๊ะครูอุซตาดที่สอนในโรงเรียนปอเนาะว่าขาดคุณภาพ ไม่เน้นการอ่านภาษาไทย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่เข้าไปส่งเสริมกิจกรรมมากมาย ซึ่งเป็น“กิจกรรมรายทาง” ที่จะไม่มีผลกระทบโดยตรง ต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcome) ของนักเรียน เราเสียเวลาและทรัพยากรต่างๆ ไปกับกิจกรรม ที่ไม่สำคัญ ไม่ใช่เงื่อนไขหลักหรือปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้ได้ Learning Outcome ที่ดี
เราลองมาลองคิดดูว่า การกำหนดเป้าผิด แล้วยิงถูกเป้า ได้คะแนนสูง เครื่องมือที่วัดเป้นอย่างไร ทุกปีผลออกมาแย่ลง แต่เป้าที่กำหนดนั้นผิด ผลก็คือการดำเนินการทั้งหมดนั้นย่อมไม่ส่งผลตามที่ต้องการ นี่คือสภาพทีเป็นจริงในวงการศึกษาของไทยกำลังเผชิญอยู่
เป้าที่วงการศึกษาไทยเล็งอยู่นั้นเป็น “เป้าทุติยภูมิ” ที่เราเชื่อกันว่าหากยิงถูกเป้านี้ ผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษา (LO) จะดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ส่งผลต่อ LO น้อยมาก หรือบางเป้าไม่มีผลเลย คือเป็นเป้าที่ผิดนั่นเอง
จุดคลิกของการศึกษาไทยจึงอยู่ที่การดำเนินการเล็งเป้าจริง หรือเป้าปฐมภูมิ คือ LO หรือหากจะอ้างว่าเป้าทุติยภูมิที่ตนกำลังเล็งอยู่นั้น จะส่งผลต่อ LO ก็ต้องทำวิจัย เก็บข้อมูล เพื่อพิสูจน์ ต้องไม่อ้างลอยๆ และต้องไม่ลืมว่า ต้องเป็น LO สมัยใหม่ คือ 21st Century Skills
การศึกษาหันหน้าเข้าสู่สังคม การศึกษาสนองใคร เพื่อใคร สังคมชุมชนมีปัญหา นำระบบการศึกษาไปแก้ได้หรือไม่ โดยเฉพาะการศึกษาที่เนื้อหาวิชาการที่ไม่มีสาระ และไม่สอดคล้องของสังคมในสามจังหวัด การศึกษาในสามจังหวัดรัฐขัดสวนทางกับสังคม สังคมมีปัญหาไม่ได้นำการศึกษาไปแก้ การเน้นแต่อ่านออกภาษาไทยได้ไม่ไช่ทางแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
การศึกษาไทยเพื่อใคร สังคมชุมชนสามารถแก้ปัญหาหรือสร้างปัญหา รัฐมองสามจังหวัดมีปัญหา แน่ละการศึกษาไทยกับการศึกษาของชุมชนไปคนละทิศคนละทาง ไม่ได้เอาสังคมเป็นตัวตั้ง กล่าวโทษการศึกษาเป็นปัญหาสามจังหวัด ระบบการศึกษาจากส่วนกลางเองอาการสาหัส สังคมไทยมีปัญหา มีความขัดแย้ง ภาคใต้ ภาคอีสาน สังคมตีกันเอง รัฐจัดการศึกษาสนองมความต้องการอะไร นำวิชาสาระไปแก้ปัญหาอย่างไร การศึกษาได้แก้ปัญหาของชีวิตจริงหรือ เห็นแต่เอาแต่ท่องจำสูตรต่างๆ สวนทางกับชีวิตจริง สภาพจริงและผู้เรียนเองมีภาระมากมายเสียเวลาต้องมาจำกับสิ่งที่ไร้สาระ เรียนจบปริญญาในที่สุดต้องมากรีดยาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น